httpsdog-breeds.info
เยอรมัน เชพเพิร์ด

เยอรมัน เชพเพิร์ด

สุนัขเยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherd) เป็นสุนัขขนาดกลางถึงใหญ่ ลักษณะขนเป็นขนสองชั้น ชั้นนอกหนายาว ส่วนชั้นในสั้นนุ่ม มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี ดั้งเดิมใช้งานเพื่อเลี้ยงแกะ ก่อนที่จะถูกนำมาฝึกเป็นสุนัขทหารเพื่อใช้ส่งสารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากสุนัขสายพันธุ์นี้เป็นสุนัขที่ทนและแข็งแรง มีลักษณะนิสัยฉลาด เรียนรู้ได้เร็ว จนถูกนำมาเลี้ยงในหลายประเทศ เยอรมัน เชพเพิร์ดควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังอย่างเหมาะสม ใส่ใจดูแลความสะอาด และควรพาไปพบสัตวแพยท์ฉีดวัคซีนป้องกันโลกอยู่เป็นประจำ

ประวัติของเยอรมัน เชพเพิร์ด

สุนัขเยอรมัน เชพเพิร์ด ถือเป็นสุนัขที่มีต้นกำเนิดมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีการค้นพบถึงหลักฐานว่าได้มีการฝึกสุนัขเยอรมัน เชพเพิร์ด มาใช้เป็นสุนัขของกองทัพทหารในการส่งสาร การค้นหา รวมไปถึงช่วยเหลือคนได้รับบาดเจ็บ และใช้เป็นสุนัขลาดตระเวน โดยหลังจากนั้นสุนัขเยอรมัน เชพเพิร์ด ก็ได้ถูกนำมาใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น สุนัขตำรวจ สุนัขทหาร สุนัขนำทาง สุนัขคุ้มกัน เป็นต้น และกลายเป็นสุนัขยอดนิยมสำหรับการทหาร ตำรวจ ในปัจจุบัน

เยอรมัน เชพเพิร์ด

ลักษณะของเยอรมัน เชพเพิร์ด

ขนาด : เยอรมัน เชพเพิร์ด เป็นสุนัขขนาดกลางถึงใหญ่

น้ำหนัก : เพศผู้ 30-40 กิโลกรัม / เพศเมีย 22-32 กิโลกรัม

รูปร่าง : สมส่วน แข็งแรง หัวกว้าง ปากยาว หูตั้ง หางยาวเป็นพวงโค้งงอ ขนมีทั้งแบบสั้นและแบบยาว

สีสันและลวดลาย : เยอรมัน เชพเพิร์ด มีสีสันที่หลากหลาย ดังนี้

สีขน : สีดำ / สีดำและแทน / สีดำและเงิน / สีดำผสมน้ำตาล

ดวงตา : สีน้ำตาลเข้มถึงดำ กลมโต

อายุ : เฉลี่ยโดยประมาณ 9-13 ปี หรือมากกว่านั้น

การสืบพันธุ์และวงจรชีวิตเยอรมัน เชพเพิร์ด

เยอรมัน เชพเพิร์ดเพศผู้ 

เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือโตเต็มที่เมื่อมีอายุครบประมาณ 6-8 เดือน โดยเพศผู้สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเพศผู้จะเริ่มเข้าใกล้และอยากผสมพันธุ์เพศเมียในช่วงระหว่างที่เพศเมียอยู่ในช่วงของการเป็นสัตว์

เยอรมัน เชพเพิร์ดเพศเมีย

เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือโตยเต็มที่เมื่อมีอายุครบประมาณ 6-8 เดือนาเช่นเดียวกัน โดยเพศเมียจะมีรอบเดือน 2 ครั้งต่อปี ในช่วงเป็นรอบเดือนนานประมาณ 10-14 วัน และจะได้รับความสนใจดจากเพศผู้เป็นพิเศษในการเข้าใกล้เพื่อผสมพันธุ์

วงจรชีวิตของเยอรมัน เชพเพิร์ด

การผสมพันธุ์ระหว่างเพศผู้และเพศเมียของงสุนัขเยอรมัน เชพเพิร์ด สามารถทำได้สองวิธีคือการผสมพันธุ์เทียบและแบบธรรมชาติ หากเพศเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะใช้เวลาในการตั้งท้องนานประมาณ 63-65 วัน ท้องได้ครั้งละ 5-10 ตัว หลังคลอดลูกสุนัขจะเริ่มได้ยินเสียงและลืมตาได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 สัปดาห์ หย่านมเมื่อมีอายุประมาณ 8 สัปดาห์

ลักษณะนิสัยของเยอรมัน เชพเพิร์ด

เยอรมัน เชพเพิร์ด เป็นสุนัขที่มีลักษณะนิสัยที่ร่าเริง มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ชอบวิ่งเล่นไปมา มีความแสนฉลาด เชื่อฟังคำสั่งจากเจ้าของ ชอบการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งยังชื่นชอบการออกผจญภัย ชอบความท้าทายสิ่งใหม่ ๆ เป็นสุนัขเฝ้าบ้านได้ดี มีสัญชาตญาณในการปกป้องอาณาเขต เป็นสุนัขที่มีความเป็นผู้นำสูง และชอบออกกำลังกาย หากขาดการออกกำลังกายเยอรมัน เชพเพิร์ด จะแสดงพฤติกรรมออกได้ชัดเจน เช่น การเห่า การกัด และการขุด

เยอรมัน เชพเพิร์ด

คำแนะนำในการดูแลเยอรมัน เชพเพิร์ด

พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเลี้ยงเยอรมัน เชพเพิร์ด

เยอรมัน เชพเพิร์ด เป็นสุนัขขนาดใหญ่ แข็งแรง กิจกรรมในแต่ละวันค่อนข้างที่จะใช้พลังงานสูง ซึ่งส่วนใหญ่พลังงานที่หมดไปกับการวิ่งเล่น ดังนั้นพื้นที่ที่เหมาะสมควรเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่กว้างอากาศถ่ายเทได้ดี มีสนามหญ้าให้วิ่งเล่น มีรั้วกั้นมิดชิด หากเจ้าของที่เล่นมีพื้นที่ที่จำกัด หรือเล่นไว้ในกรงควรพาสุนัขออกไปวิ่งเล่นตามสวนสาธารณะอย่างน้อยวันละ 1-2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการปลดปล่อยจากภาวะเครียด

อาหารที่เหมาะสมสำหรับเยอรมัน เชพเพิร์ด

เยอรมัน เชพเพิร์ด สามารถรับประทานอาหารได้ทั้งแบบอาหารสำเร็จรูป อาหารปรุงเอง และอาหารเม็ด นอกจากนี้เจ้าของควรคำนึกถึงคุณค่าทางโภชนาการที่สุนัขจะได้รับอีกด้วย ซึ่งอาหารควรอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โปรไฮเดรต ไขมันต่ำ วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงขนให้สวยงามได้อีกด้วย

การดูแลทำความสะอาดเยอรมัน เชพเพิร์ด

เยอรมัน เชพเพิร์ด เป็นสุนัขที่มีขนสองชั้น ซึ่งชั้นนอกจะเป็นขนยาวและหนา ส่วนชั้นในจะเป็นขนสั้นและนุ่ม ดังนั้นการดูแลทำความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้าหากขาดการดูแลอาจส่งผลไปยังด้านสุขภาพได้ ควรแปรงขนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง การอาบน้ำไม่จำเป็นต้องอาบบ่อยแต่ต้องประเมินจากความสกปรกหรือกลิ่นตัว ตัดเล็บ เช็ดบริเวณดวงตา แปรงฟัน เช็ดใบหู ควรทำอย่างเป็นประจำเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย

สุนัข ความรู้เกี่ยวกับสุนัข : dog-breeds.info

ความรู้เกี่ยวกับสุนัขเพิ่มเติม : ดัชชุน(dachshund dog)